ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
โดย…นายวิชุกร กุหลาบศรี
ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดอุบลราชธานี
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2558)
ประเทศไทยมีประเพณีการถวายเทียนเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นประเพณีสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียน รวมถึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง พิธีนี้ยังคงมีมาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นมาของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะเวลาติดต่อกันมา 114 ปี เดิมอุบลราชธานี เป็นงานบั้งไฟที่เป็นงานประจำจังหวัด ต่อมากรมพระยาสรรพสิทธิประสงค์ เห็นว่าบั้งไฟเวลาจุดขึ้นไปอันตรายแก่ผู้คนร่วมงาน หยิบยกเรื่องของประเพณีแห่เทียนเข้ามาเป็นจุดเด่น วัสดุที่มาใช้คือขี้ผึ้งในการทำเทียน เพราะฉะนั้นชาวบ้านมีขี้ผึ้งสามารถจะนำมาทำเป็นเทียนเล่มเล็กๆ หรือเป็นเทียนเล่มใหญ่ขึ้น และจัดเป็นกระบวนแห่อันยิ่งใหญ่
การถวามเทียนพรรษาจะมีอยู่ 3 ประเภท
- สมัยโบราณจะนำเทียนเล่มเล็กๆ โดยมีการมัดรวมกันให้เป็นเทียนเล่มใหญ่ จัดขบวนนำไปถวายวัด
- เริ่มมีการพัฒนาโดยการแกะสลักเข้ามาร่วม โดยนำขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่ จากนั้นใช้ช่างฝีมือมาแกะสลักเป็นลวดลายไทย ลวดลายกนก โดยเฉพาะเป็นลวดลายของอีสานดั้งเดิม
- ปัจจุบันมีการพัฒนาเทียนเป็นแบบติดพิมพ์ คือ วิธีการทำต้นเทียนพรรษาจะมีบล็อกที่ทำด้วยหินหรือไม้ จากนั้นนำเทียนไปกดให้มีรูปร่างตามพิมพ์ จะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว 3 นิ้ว ถึง 5 หรือ 6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดที่ต้องการ จะให้พวกชาวบ้านเข้ามาช่วยกันแกะตามลวดลาย ตามลายกนกลายไทยที่เป็นบล็อกแกะออกมาจากพิมพ์
ปัจจุบันนี้จะนำต้นเทียนมาประกอบเป็นขบวน ซึ่งจะเป็นเรื่องราวของพุทธประวัติประกอบเป็นขบวนต้นเทียน เดิมอาจจะขนาดยาวไม่มาก 5-6 เมตร ปัจจุบันขนาดตั้ง 10 – 15 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร
ในการเคลื่อนที่ ต้นเทียนแต่ละต้นต้องใช้รถเทรลเลอร์ขนย้าย ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของอุบลราชธานีมีมาตั้งแต่ปี 2520 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการประชาสัมพันธ์เรื่องของงานประเพณีแห่เทียนของ
อุบลราชธานีอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมร่วมด้วย การตกแต่งต้นเทียน แต่ส่วนใหญ่จะมีภาพประกอบที่ทำด้วยเทียนเหมือนกัน อาจจะเป็นนารายณ์ทรงครุฑ หรืออื่นๆ แต่ละปีจะไม่
เหมือนกัน ด้านข้างจะมีเป็นภาพที่แกะสลักด้วยเทียน เป็นเรื่องราวของพุทธประวัติทั้งหมด ที่จังหวัดอุบลราชธานีจะเน้นเรื่องราวของพุทธประวัติเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
ภาพรวมของการจัดงานในจังหวัดอุบลราชธานี จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่เทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่งขบวนแห่จะมาแห่ที่บริเวณทุ่งศรีเมืองในตัวเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัด และอำเภอทุกอำเภอจะส่งขบวนเข้ามาร่วมในงาน แต่ละปีประมาณ 65 ขบวน แต่ละขบวนจะมีนางรำมีการฟ้อนรำประกอบขบวน ซึ่งแต่ละขบวนจัดยิ่งใหญ่อลังการ ระยะเวลาการแสดงการแห่นานเป็นหลายชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2558 วันแห่จริงๆ เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ในช่วงเช้า เริ่มตั้งแต่ 8 โมงเช้า ประมาณช่วงบ่ายๆ ถึงจะหมดขบวนขนวนแห่ และก่อนวันจัดงานรถบรรทุกต้นเทียนจะมาจอดรวมกันบริเวณรอบทุ่งศรีเมือง บริเวณเทศบาลจะมีการประดับไฟ ตกแต่งสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมต้นขบวนต้นเทียนที่ตั้งไว้ ส่วนการขบวนแห่ภาคกลางคืนจะมีก่อน วันจริง คืนวันที่ 30 ประมาณ 1 ทุ่ม จะมีขบวนแห่ประกอบแสงสีเสียงและมีขบวนฟ้อนรำ ขบวนงานประเพณีปีนี้จัด 12 ชุด ตามประเพณีของอีสาน คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่จะมีประเพณีอีสานทั้ง 12 เดือน ให้ นักท่องเที่ยวนั่งชมบนอัฒจันทร์ ส่วนวันจริงเป็นขบวนแห่ กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเทียนเริ่มตั้งแต่ต้นเดือน
การจัดงานแห่เทียนพรรษของอุบลราชธานีที่สืบทอดกันมาประมาณ 114 ปี เรียกได้ว่าจิตวิญญาณหรือวิถีชีวิต วัฒนธรรมของคนอุบล พอถึงช่วงเวลาการทำเทียนชาวบ้านจะออกมาช่วยกันทำเทียนมา
หล่อเทียนมาติดพิมพ์มาแกะสลัก ก่อนล่วงหน้าประมาณหนึ่งเดือน ในส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะใช้ในเรื่องวิถีไทยเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วม ลักษณะเข้าไปเรียน
รู้ที่ชุมชน มีโครงการเรียกว่าเยือนชุมชนคนทำเทียน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเรียนรู้เรื่องของการทำเทียน ไปช่วยกันแกะสลักเทียน ติดพิมพ์เทียนหรือว่าทำบุญให้แก่วัดวาอาราม
ซึ่งปีนี้มีการประกวดชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว หลักเกณฑ์การประกวด เน้นเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน การต้อนรับการนำเสนอข้อมูล การเสนอกิจกรรมให้กับ
นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม ความสะอาด เน้นให้ชุมชนแต่ละชุมชนมีความพร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จะมีการต้อนรับอย่างไง มีการนำเสนอยังไง รวมถึงสินค้าที่จะจำหน่าย เช่น อาหารพื้นเมือง ของ
ที่ระลึก บริการนักท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลใหญ่การพัฒนาชุมชน หรือว่าให้ชุมชนเขามีส่วนร่วม นอกจากชุมชนมีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีจัดนักศึกษาเข้ามาร่วมกับชุมชน เนื่องจากนักท่องเที่ยว
ไม่มีเฉพาะคนไทยแต่มีชาวต่างประเทศ นักศึกษาเป็นคนให้ข้อมูลร่วมกับทางชุมชน สิ่งนี้เป็นการพัฒนาเรื่องของเยือนชุมชนคนทำเทียน การสร้างเทียนพรรษาสร้างขึ้นด้วยการหล่อขี้ผึ้ง ปกติถ้าโดนแดดจะ
ละลาย รูปแบบจะเสีย ก่อนที่จะทำจะมีหลังคามีโรงเก็บ ไม่ให้ตากแดด และคอยใช้น้ำฉีดตอนระหว่างทำ การหล่อใช้ความร้อนต้มเทียนนำทำมาเป็นแผ่น นำไปติดประดับตกแต่งให้สวยงามในวันที่ขบวนแห่ส่วน
ใหญ่จะมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยง
งานประติมากรรมเทียนนานาชาติเป็นอีกงานหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้ามาพัฒนารูปแบบให้มีศิลปินช่างแกะเทียนเชิญมาจากต่างประเทศ ปีนี้มีอยู่ 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ตุรกีเนปาล และมีศิลปินของคนไทยร่วมอีก 5 ท่าน โดยมีการใช้เทียนมาเป็นรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หล่อหลอมเทียนให้มีขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร กว้างเมตร ยาวเมตร สูงเมตรซึ่งแต่ละก้อนน้ำหนักประมาณ 1 ตัน ศิลปินแต่ละคนใช้ประมาณ 3 ตัน 3 ก้อน แกะเป็นรูปร่างตามจินตนาการที่ออกแบบ แต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน มีการประชาสัมพันธ์ไปยังต่างประเทศ กิจกรรมการใช้เทียนมาทำเป็นศิลปกรรม จากการสอบถามไปหลายประเทศนั้นจะมีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวในโลกที่ใช้เทียนมาทำเป็นศิลปกรรม ประเทศอื่นจะมีเป็นแกะน้ำแข็ง แกะหิมะในการจัดงานนั้นมีการนำเสนอในรูปแบบของการแสดงแสงเสียงในภาคกลางคืน หลังจากที่ศิลปินแกะเรียบร้อยแล้ว ภาคกลางวันมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมเข้ามาชมเรื่องของประติมากรรมเทียนนานาชาติ
นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2558)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/29-58
CD-A4(2/3)-58
ที่มา http://www.stou.ac.th/study/sumrit/9-60/page5-9-60.html