อานิสงส์ของการตักบาตร

อานิสงส์ของการตักบาตร

อานิสงส์ของการตักบาตร

1. ทำให้สุขทั้งกายใจ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

2. มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว โรคภัยน้อย

3. มีทรัพย์สมบัติมาก เป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ

4. ถึงพร้อมด้วย รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ

จุดประสงค์ในการทำบุญตักบาตร

1. เป็นการลดความแก่ตัว

2. เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนา

3. เป็นการเพิ่มความสุขและสิริมงคลแก่ตนเอง

4. เป็นการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

หลักเกณฑ์การทำบุญตักบาตร หรือทำบุญทั่ว ๆ ไป

องค์ประกอบในการทำบุญ ต้องประกอบด้วยหลักการ 3 อย่าง

1. สิ่งที่นำมาทำบุญบริสุทธิ์หรือวัตถุบริสุทธิ์

2. มีเจตนาบริสุทธิ์ หมายถึงผู้ให้ ได้แก่ตัวเราเอง ต้องมีใจบริสุทธิ์

3. ผู้รับบริสุทธิ์หมายถึงพระสงฆ์หรือบุคคลผู้ที่เราจะให้ต้องบริสุทธิ์ของใส่บาตร

ของที่นำมาตักบาตร ควรเป็นของที่ดีกว่าที่เรารับประทานหรืออย่างน้อยเช่นเดียวกับของที่เรารับประทาน

ต้องไม่เป็นของเหลือจากส่วนที่เรารับประทานแล้ว และของที่นำมาถวายต้องไม่เป็นของต้องห้ามที่พระฉันไม่ได้เพราะผิดพระวินัย

หลักการปฏิบัติในการตักบาตร

1. ขณะรอใส่บาตร ต้องทำจิตให้สงบ โดยไม่เจาะจงว่าจะใส่พระรูปนั้นรูปนี้

2. เมื่อพระสงฆ์เดินมาใกล้ๆ พึ่งอธิษฐานจิต โดยให้นั่งกระหย่งถืออาหารที่จะใส่บาตรเสมอหน้าผาก กล่าวคำว่าอธิษฐานว่า สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขยาวะหัง โหตุ แปลว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้ดีแล้ว ขอจงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้น ไปแห่งอาสวะกิเลส เทอญ

3. ลุกขึ้นยืน ถอดรองเท้า ยืนบนที่ต่ำกว่าพระสงฆ์ ด้วยอาการสำรวม

4. ใส่อาหารลงในบาตรพระ ด้วยอาการสำรวมระมัดระวัง

5. เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว นั่งกระหย่ง แล้วยกมือไหว้พระสงฆ์ จนกว่าท่านจะเดินจากไป

6. หลังจากใส่บาตรเสร็จแล้ว ควรอุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยการกรวดน้ำ จะกรวดขณะนั้น หรือกรวดที่บ้านก็ได้ โดยการอธิษฐานกล่าวว่า อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย แปลว่า ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด

ข้อควรระวังในการตักบาตร

1. อย่าให้ทัพพีภาชนะโดนบาตร

2. อย่าชวนพระสนทนาขณะใส่บาตร

3. ควรถอดรองเท้าทุกครั้ง

4. ไม่ควรใส่สิ่งของที่ใหญ่เกินไป เช่น ขวดน้ำ ข้าวถุงใหญ่

5. ควรจัดอาหารที่หาได้สะดวก

6. ไม่ควรใส่อาหารกระป๋อง ของดิบ หรือของเหลือที่รับประทานแล้ว