Site icon บริษัท บุญสังฆภัณฑ์ จำกัด

ถวายเทียนพรรษา ปี 2566 อนุโมทนาบุญร่วมกันครับ ร้านบุญสังฆภัณฑ์ ร่วมถวายเทียนพรรษา ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชาวัดโพธิ์เศรษฐี อ.เมือง จ.นครปฐม

ถวายเทียนพรรษา ปี 2566

ถวายเทียนพรรษา ปี 2566 อนุโมทนาบุญร่วมกันครับ ร้านบุญสังฆภัณฑ์ ร่วมถวายเทียนพรรษา ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชาวัดโพธิ์เศรษฐี อ.เมือง จ.นครปฐม

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของวัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม
ความนำ
          วัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม เดิมมีชื่อว่า สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
เป็นต้นมา เป็นเวลา ๒๑ ปีเศษ ในระหว่างที่ใช้ชื่อ สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐีอยู่นั้น ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตลอดมาเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน  ทั้งใกล้และไกลร่วมกันบริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินเพื่อสร้างเป็นวัดและจัดสร้างเสนาสนะไปพร้อมกันจนกระทั่งถึงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงได้รับประกาศจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า “วัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม”
ประวัติการก่อสร้างสวนปฏิบัติธรรมโพธิ์เศรษฐี
          หลวงพ่อจืด นิมมโล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อน้อย อินทสโร (พระครูภาวนากิตติคุณ วัดธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้มาดูพื้นที่ดินบริเวณนี้พร้อมด้วยพระอาทิตย์ (จ้อน  ฉิมพาลี) ที่หมู่บ้านสระหลวง หมูที่ ๖ ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีนายสิรภพ (ประสิทธิ์) และนางรินรดา (จินตนา) ศรีงาม เป็นผู้นำพามาจากสำนักสงฆ์โอภาสี หมู่ที่ ๔ตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และมาชี้เขตพื้นที่บริเวณต้นโพธิ์ซึ่งเป็นที่นาและที่สวนของนางเหมือย มณฑาสุวรรณ และบุตร-ธิดา
          มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่กลางทุ่งนา และไม่ห่างไกลจากคลองระบายน้ำ ร.๑ ซ้ายเจดีย์บูชาในบริเวณนี้ เป็นที่ดินของนายทอง ต้นตระกูลมณฑาสุวรรณ มีอตีตผู้ใหญ่เล็ก มญฑาสุวรรณ  นายวงศ์ มณฑาสุวรรณ นางเอ็ง ศรีงาม (มณฑาสุวรรณ) นางเหมือย มณฑาสุวรรณ แต่บริเวณ ที่ตั้งสวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐีนี้อยู่ตรงบริเวณที่ดินของครอบครัวนางเอ็ง ศรีงาม โดยมีชื่อของนายบุญส่ง ศรีงาม นายสิรภพ ศรีงาม ร.ต.ท.สมชาย ศรีงาม นางจำเนียร ศรีงาม และนายทวีศิน  ศรีงาม หลวงพ่อได้ติดต่อขอซื้อที่ดินเพิ่มเติมจากอาจารย์สุภัทรา ควรยัง  นางจำรัส ของศักดิ์ นางวิรัช สักขาพร และนายบุญมาก  มณฑาสุวรรณ   นางเหมือย มณฑาสุวรรณ มีจิตศรัทธาที่จะได้สร้างวัด จึงถวายที่ดินให้ ๑ ไร่ ก่อน ส่วนของลูกๆ จึงได้ขายให้สร้างวัดในภายหลัง ในขณะที่มาพักอยู่ที่แห่งนี้ ได้อาศัยบ้านพักกลางสวนของอาจารย์สุภัทรา ควรยัง ได้ปลูกสร้างไว้พักผ่อนเวลามาทำสวน ต่อจากนั้น จึงได้สร้างสำนักสงฆ์มุงแฝกขึ้นมีห้องน้ำ ห้องส้วม โดยได้รับบริจาคทรัพย์ในเบื้องต้นของการก่อสร้างที่พักสงฆ์ชั่วคราวในระยะเริ่มต้นระหว่างที่หลวงพ่อจืด นิมฺมโล ได้มาอยู่ที่แห่งนี้ มีนายอำนวย จันทร์พฤกษ์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ต่อจาก ผู้ใหญ่เล็ก มณฑาสุวรรณ จึงมีความเห็นรวมกันกับหลวงพ่อจืด  นิมฺมโล ดำเนินการจัดตั้งพัฒนาเริ่มทำบุญใหญ่เป็นครั้งแรกที่บริเวณโคนต้นโพธิ์กลางทุ่งนา เมื่อวันที่
๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖
          ผู้ใหญ่อำนวย จันทร์พฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ หมู่บ้านสระหลวง เป็นผู้นำชุมชน       สระหลวง เป็นประธานดำเนินการ จัดประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการหลายฝ่าย จัดหาผ้าป่า มาช่วยกันสร้างเป็น“สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี” เวลาผ่านมาหลายปีและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมและจัดสร้างศาสนสถานต่างๆ ตามความเหมาะสม
          ต่อมา นายบุญส่ง ศรีงาม ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงได้ร่วมมือกับหลวงพ่อจืด นิมฺมโล ดำเนินงานต่อ ได้รับพลังศรัทธาจากลูกศิษย์ของหลวงพ่อจืด นิมฺมโล พร้อมทั้งเพื่อนๆ มาร่วมกันพัฒนาขึ้น ในปี    ๒๕๓๘-๒๕๔๐ อาจารย์ทินกร อาจารย์เบญจวรรณ ศศิโรจน์ และคณะเพื่อนๆ ของหลวงพ่อจืด  นิมฺมโล ได้แก่ นายธีรศักดิ์ กระจ่างธิมากร อดีตแขวงการทางจังหวัดนครปฐม เป็นเพื่อนรวมรุ่นโรงเรียน พระปฐมวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้สร้างหลวงพ่อศิลาใหญ่ แกะสลักจากหิน มีองค์ใหญ่ ๑ องค์ องค์เล็ก ๑ องค์ ช้างศิลา ๑ คู่ มาถวายให้ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาข้างต้นโพธิ์ใหญ่ พร้อมทั้งจัดคณะผ้าป่ามาทอดที่สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี จำนวนหลายครั้ง
          เหตุที่จัดสร้างสวนปฏิบัติธรรมขึ้นนั้นเนื่องจาก ตำบลบ่อพลับ มีอยู่ ๘ หมู่บ้าน ไม่มีวัดเป็นศูนยร์วมจิตใจ และจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ประชาชนจึงต้องเดินทางไปทำบุญและร่วมกิจกรรมกับวัดใกล้เคียง เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร, วัดห้วยจระเข้, วัดเสนหา,วัดพระงาม, วัดพะเนียงแตก และวัดสามกระบือเผือก ดังนั้นทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ จึงได้พร้อมใจกันจัดตั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ขึ้นภายในตำบล ในเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ ในระยะเริ่มต้นมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมในปัจจุบัน รวมเป็น ๒๐ ไร่ ๑ งาน ๔๔ ตารางวา จัดสร้างศาลนสถานเพิ่มขึ้นหลายอย่าง ดังนี้ กุฏิพระจำนวน ๕ หลัง ศาลากลางน้ำ ศาลานิมฺมโล (ใช้เป็นที่รับแขกและจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา) ศาลาอเนกประสงค์และโรงครัว ศาลาหลวงพ่อใหญ่ใกล้ต้นโพธิ์ เทวสถานเอี่ยมอำภา  พื้นที่ทรงแปดเหลี่ยม มีรูปหล่อพระพิฆเนศประทับต่อ หอระฆัง และหอกลอง ศาลาพระราหูและ ข้างองค์พระราหู
หมายเหตุ จากจำนวนที่ดินของวัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม ทั้งหมดนี้ สรุปว่า มีผู้บริจาคที่เป็นเจ้าของที่ดิน ๔ ท่าน ดังต่อไปนี้
          ๑. นางเหมือย มณฑาสุวรรณ ถวายวัด จำนวน ๑ ไร่ ซึ่ง (เป็นชื่อของบุตรชาย คือนายบุญมาก มณฑาสุวรรณ เป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน
          ๒ นางจำรัส (ติ่ง) ทองศักดิ์ ถวายวัด จำนวน ๒ งาน ๒๖ ตารางวา
          ๓. นางทองพูล ฉิมพุก ถวายวัด จำนวน ๒ งาน ๙ ตารางวา
          ๔ นายสิรภพ (ประสิทธิ์) นางรินรดา (จินตนา) ศรีงาม ถวายวัด ๕๐ ตารางวา
ตำบลที่ตั้งของสวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี
          สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ในความดูแลภายในเขตเทศบาลตำบลบ่อพลับ หมู่ที่ ๖ (ชุมชนสระหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีนายณรงค์เดช สุระเสียงเป็นนายกเฬศมนตรีตำบลบ่อพลับ มีนายภัทรวาสน์ วงศ์กิตติโสภณ เป็นปลัดเทศบาลตำบลบ่อพลับ นายพิสิฐ อรุณมาศ เป็นกำนันตำบลบ่อพลับ และนายณภัทร มณฑาสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ ในปัจจุบัน
          สถานที่ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๔๒/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ประมาณ ๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่ ริมคลองะบายน้ำ ร.๑ ซ้ายเจดีย์บูชา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
          ทิศเหนือ         จรดคลองระบายน้ำ ร.๑ ซ้ายเจดีย์บูชา และ หมู่ ๖ ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม
          ทิศใต้             จรดหมู่บ้านหมู่ที่ ๖ ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม
          ทิศตะวันออก   จรดแนวถนนรถยนต์ติดเขตหมู่ที่ ๔ ตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมืองนครปฐม
          ทิศตะวันตก     จรดหมู่บ้านหมู่ที่ ๖ (หมู่บ้าน สระหลวง) ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม
สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี มีเนื้อที่รวมในปัจจุบัน ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๔๔ ตารางวา ปัจจุบันมีชื่อว่า “วัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม” อยู่ในความปกครองของวัดไร่เกาะต้นสำโรง (วัดเจ้าคณะตำบลพระประโทน) และอยู่ในความปกครองของวัดพะเนียงแตก (วัดเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม)
 
นามวัดและการขออนญาตตั้งวัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม
          หลวงพ่อจืด นิมมโล พร้อมทั้งคณะกรรมการสวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี ได้ปรึกษาหารือร่วมกันในการขอจัดตั้งเป็นวัด โดยพิจารณาการตั้งชื่อวัดให้เหมาะสมกับคำว่า “สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี” และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง จึงใช้คำว่า “วัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม” หลวงพ่อจืด      นิมฺมโล จึงได้มอบหมายให้ นายบุญส่ง ศรีงาม อดีตผู้ไหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖เป็นผู้ดำเนินการขอร่วมกับนายสมภพ เบ็ญจวรรณ์ (ไวยาวัจกร ของวัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม คนปัจจุบัน)เป็นผู้รวบรวม
          เอกสารสำคัญ เช่น รายงานขอตั้งวัด โฉนดที่ดิน แผนภูมิภาพถ่าย ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ กุฏิ ศาลา และบริเวณรอบๆ รวมภาพกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม ได้มาตรวจสอบ สัมภาษณ์ คณะกรรมการสวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี หลังจากนั้น จึงส่งเรื่องขออนุญาตตั้งเป็นวัดตามขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม
          ตามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหนังสือประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม”  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อจัดอันดับของวัด เป็นลำดับวัดที่ ๔๐ ของอำเภอเมืองนครปฐม และเป็นลำดับวัดที่ ๒๐๐ ของจังหวัดนครปฐม โดยมี พระอธิการชัยวัฒน์ อาทิตฺโต เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เศรษฐีวนาราม

อ่านข่าวอื่นๆ:

Exit mobile version