สมัยลพบุรี
( ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๐ – ๑๘๐๐ )
พระพุทธรูปสมัยนี้เป็นแบบอย่างฝีมือช่างขอมมีทั้งทำตามคติหินยาน ซึ่งมีอยู่เป็นดั้งเดิมแต่ครั้งสมัยทวารวดี และคติมหายานซึ่งได้รับมาแต่สมัยศรีวิชัย และพวกขอมนำเข้ามาแต่ประเทศกัมพูชาอีก ที่เรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า สมัยลพบุรีนั้น ก็เพราะเมื่อขอมมีอำนาจปกครองประเทศสยามอยู่นั้น ตั้งราชธานีของอุปราชอยู่ที่เมืองลพบุรี นักปราชญ์ทางโบราณคดีจึงได้เอานามราชธานีครั้งนั้นมาเป็นชื่อสกุลช่างขอมโรงหล่อพระในประเทศสยามมาให้จำง่าย มิได้หมายความว่าเป็นของทำเฉพาะแต่ที่ในจังหวัดลพบุรีเท่านั้น
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรี