“พระพุทธเจ้าน้อย” หรือ “พระมหาโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมาร” ปางประสูติชี้ฟ้าชี้ดิน
พุทธสัญลักษณ์รูปแทนของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งประสูติจากพระครรภ์มารดา
โดยทรงมีสติระลึกทบทวนถึง “เป้าหมายของชีวิต” ที่อุบัติมาเป็นมนุษย์ในชาติสุดท้ายนั้น
แล้วทรงประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวานิ้วชี้ ชี้ขึ้นฟ้า พระหัตถ์ซ้ายนิ้วชี้ ชี้ลงดิน กล่าวเปล่งอาสภิวาจาว่า
“เราคือมหาบุรุษ และนี่จะเป็นพระชาติสุดท้ายของเรา!!!”
เราจะเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก
เราจะเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
เราจะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
การเกิดของเรานี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้จะไม่มีภพใหม่อีก”
ทรงประกาศความมุ่งมั่นหรือ “สัจจาอธิษฐาน”
ที่จักทรงบำเพ็ญให้เข้าถึงความประเสริฐสูงสุด
แห่งความเป็นมนุษย์ในโลก
ซึ่งก็คือการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณให้จงได้ในชีวิต
ที่ได้เกิดมาเป็นชาติสุดท้ายดังกล่าว
พระพุทธเจ้าน้อย” เป็นสัญลักษณ์ของ
“การเกิดหรือการตั้งต้น”
ให้มนุษย์หันมามาทบทวนตัวเอง และ
“ตั้งต้นใหม่” ในการทำสิ่งดีๆในชีวิตที่ได้เกิดมา
พบพระพุทธศาสนาในชาตินี้
ทำไมต้องชี้ฟ้าชี้ดิน
คัมภีร์พุทธประวัติทุกฉบับกล่าวตรงกันว่า
ภายหลังจากที่พระนางสิริมหามายา
ทรงประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ กลางป่าที่ลุมพินีสถานแล้ว ทันทีที่เจ้าชายน้อยกำลังจะหย่อนพระบาทลงแผ่นดิน
พลันมีพุทธปาฏิหาริย์บังเกิดดอกบัวบานผุดขึ้นมา
รองรับให้ก้าวเดินจำนวนเจ็ดดอก
การย่างเดินทั้ง ๗ ก้าว
นี้เป็นเพียง “บุคคลาธิษฐาน”
ว่าพระพุทธองค์จะทรงประกาศ
ศาสนธรรมไปทั่วทั้งจักรวาลถึงเจ็ดทิศา
ทรงชี้ฟ้าและดิน
พร้อมกับขณะย่างเดิน
บนดอกบัวทั้งเจ็ดก้าว
พลางตรัสให้ฟ้า-ดินมาร่วมเป็นสักขีพยานว่า
“เราคือมหาบุรุษ
และนี่จะเป็นพระชาติสุดท้ายของเราแล้ว!”
ที่มา.http://chantingbook.com/littlebuddha/