– เนื้อทองเหลือง พ่นทอง ราคา 45,000 บาท
– ราคาเนื้ออัลลอยด์ พ่นทอง ราคา 22,000 บาท
ขนาด ฐานกว้าง 95 ซม. ลึก 57 ซม. สูงรวม 112 ซม.
พระสังกัจจายน์พระอสีติมหาสาวก “แห่งโชคลาภ”
เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ “คะเซ็นเน็น” (Kasennen) ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “พระสังกัจจายน์” หรือ “พระสังกระจาย”
พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมือง โดยมีคติความเชื่อที่ว่า “ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล”
เป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่งมีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์ เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่าคือ “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นั่นเองตามบาลีที่ว่า “อโรคฺยาปรฺมา ลาภา”
ความเชื่อเรื่องการกราบไหว้พระสังกัจจายน์มีอยู่มากทั้งในคติแบบพุทธศาสนาและแบบพระอ้วนของชาวจีน ซึ่งพระสังกัจจายน์เป็นผู้มีบุญบารมีสูงสุดหากนับตามลำดับชั้นเพราะเป็น พระอรหันต์ที่มีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ ใบหน้ายิ้มแย้มและได้ชื่อว่าเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย การบูชาพระสังกัจจายน์ เริ่มจากการตั้งจิตอธิษฐานให้ใจเกิดความมั่นคง แล้วทำการสวดบูชาพระสังกัจจายน์ด้วยพระคาถาว่า
ตั้งนะโม 3 จบแล้วกล่าว คำบูชาว่า
“กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ ”
จากนั้นให้ใช้มือขวาลูบท้องขององค์พระโดยให้ลูบเป็นวงกลมหมุนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ แล้วทำการขอพรให้ได้กระทำความดีและประกอบอาชีพอย่างขยันขันแข็งกระทำการใดๆให้สำเร็จ และคำขอพรใดๆต้องเป็นเรื่องที่ดีงามเท่านั้น บางตำราก็กล่าวว่าให้ใช้มือบีบที่หัวเข่าของพระสังกัจจายน์ก็ได้ ดังเช่นที่พระอินทร์เคยนั่งรอพระสังกัจจายน์อยู่นานเพื่อรอฟังธรรม ครั้นพระสังกัจจายน์เดินทางมาแล้ว พระอินทร์ก็ตรงเข้าไปบีบหัวเข่าด้วยความเคารพศรัทธาร้องว่า “พระผู้เป็นเจ้าของเรามาแล้ว” เป็นการอธิษฐานด้วยความดีใจและบันดาลให้เกิดความสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาอันดีงาม
เคล็ดการบูชา
ในการบูชาพระสังกัจจายน์นั้นบูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่างๆ หรือดอกบัว๗ดอก มิว่าจะบูชาด้วยดอกใดให้ใช้ 7 ดอก และควรบูชาสองเวลาคือเช้าก่อนไปทำงานและเย็นก่อนนอน เพื่อขอให้ท่านประสาทพรโชคลาภพูนทวี และมีเคล็ดอย่างนึงว่าพระสังกัจจายน์นั้นหากบูชาไว้ในบ้านให้ปิดทองที่พุงของท่านเชื่อว่าจะมีลาภไหลมาไม่ขาดสาย