ความหมายของธงกฐินทั้ง 4
ธงกฐินทั้ง 4 คือ จระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ และเต่า เป็นปริศนาธรรมของคนโบราณ ซึ่งธงแต่ละผืนก็มีความหมายแฝงไว้เป็นคติธรรม เป็นสัญลักษณ์เปรียบเปรยให้ระลึกถึงหลักธรรมคำสอนตามพระพุทธศาสนา ดังนี้
1) จระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม)
2) ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อน เหมือนความโกรธ ที่แผดเผาจิต)
3) นางมัจฉา หมายถึง ความหลง (เสน่ห์แห่งความงาม ที่ชวนหลงใหล)
4) เต่า หมายถึง สติ (การระวังรักษา อายตนะทั้ง 6 ดุจเต่า ที่หดอวัยวะ ซ่อนในกระดอง)
“ธงจระเข้” ใช้ประดับ ในการแห่ (มีตำนานว่า เศรษฐี เกิดเป็นจระเข้ ว่ายน้ำตามขบวนกฐิน จนขาดใจตาย)
“ธงนางมัจฉา” ใช้ประดับ งานพิธี ถวายผ้ากฐิน (เป็นตัวแทน หญิงสาว ตามความเชื่อว่า อานิสงส์ จากการ ถวายผ้า แก่ภิกษุสงฆ์ จะมีรูปงาม)
“ธงตะขาบ” ใช้ประดับ เพื่อแจ้งว่า วัดนี้ มีคนมา จองกฐินแล้ว (ให้ผู้จะมา ปวารณา ทอดกฐิน ผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้อง เสียเวลามาถาม)
“ธงเต่า” ใช้ประดับ เพื่อแจ้งว่า วัดนี้ ทอดกฐิน เรียบร้อยแล้ว (จะปลดลง ในวันเพ็ญ เดือน 12 )
ในปัจจุบัน จะเห็นเพียง ธงจระเข้ และ นางมัจฉา ที่จะปรากฎ ในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบ และเต่า พบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัด ที่ยังคงรักษา ธรรมเนียมเก่าอยู่
สังเกตุไหมว่า ทำไมในงานทำบุญทอดกฐิน ผู้คนจะแย่งและอยากได้ธงมัจฉา และธงจระเข้กันมาก หากจะได้จริงๆ ต้องจอง หรือไม่ก็เป็นประธานใหญ่เท่านั้น กฐินงานหนึ่งจะมีธงใหญ่แค่อย่างละ 1 ผืนเท่านั้น
เพราะว่าคนที่ได้ไปบูชา ติดบ้านเรือน ร้านค้า จะมีเงินทอง ไหลมาเทมา ไม่ขาดสาย ดั่งงานกฐิน ของตามวัดต่างๆ ที่มีแต่คน นำเงิน ทอง ข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ มาให้ ด้วยจิตศรัทธา